ประวัติและความเป็นมา
นางบุญชู ม่วงไหมทอง อดีตข้าราชการครูจากโรงเรียนบ้านเขาบายศรีได้ออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2552 ได้ร่วมมือกับผู้ปกครอง จัดตั้งชมรมครูผู้ปกครองเด็กพิเศษบ้านเขาบายศรี โดยนำเงินส่วนตัวจำนวน 400,000 บาท มาจัดซื้อที่ จำนวน 1 ไร่ 73 ตารางวา สร้างอาคารสำหรับเด็กพิเศษระดับอนุบาลตั้งแต่ 3 ปี จนถึง 15 ปี และได้มอบให้กับทางราชการ
ต่อมาได้ร่วมกันจัดหาซื้อที่ดินจำนวน 2 ไร่ ราคา 1,600,000 เพื่อสร้างอาคารสำหรับเด็กพิการทุกประเภทมีทั้งเด็กเล็กและเด็กโต โดยได้จัดตั้งชื่อว่า “บ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษ ศูนย์การฝึกอาชีพสำหรับเด็กพิการ” ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างได้รับความเมตตาจากสังคม กลุ่มบุคคล บริษัทเอกชน หน่วยงานราชการทหารที่ให้ความเมตตาช่วยเหลือมาโดยตลอด นอกจากนั้นยังมีกลุ่มบุคคลต่างชาติให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง เช่น สมาคมจัสเตอร์แคร์ฟอร์ คีท พัทยา สปอร์ตคลับ คุณครู ฟิว และคุณมาติน
บทบาทหน้าที่
1. บริการเลี้ยงดู อาหาร ที่อยู่อาศัย2.บริการด้านรักษาพยาบาล
3. บริการด้านกายภาพบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพ ใช้กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเพื่อให้ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้
การใช้ชีวิตและการปรับตัวให้เข้ากับสังคม
กระบวนการดูแลผู้พิการ
บ้านครูบุญชู เพื่อเด็กพิเศษปัจจุบันมีเด็กทั้งหมด 75 คน จำแนกแต่ละประเภทได้ดังนี้1. ผู้พิการที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 42 คน
2. ผู้พิการออทิสติก จำนวน 23 คน
3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จำนวน 3 คน
4. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จำนวน 4 คน
5. พิการทางสายตา 2 คน
6. พิการทางหู 1 คน
บ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษ ได้รับเลี้ยง ดูแลผู้การ โดยดูแลตั้งแต่ตื่นนอน อาบน้ำ แปรงฟันให้สำหรับเด้กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย ซึ่งผู้พิการที่บ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษส่วนใหญ่เป็นเด็กพิการทางสมอง อย่าง ผู้พิการทางสติปัญญา ออทิสติก ดาวน์ซินโดรมและแอลดี ทำให้ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่กว่าเด็กปกติอย่างมาก เนื่องจากเด็กไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเด็กออทิสติกหรือเด็กพิเศษส่วนใหญ่ที่อยู่ที่นี่ ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งเนื่องจากไม่มีคนดูแลหรืออีกสาเหตุหนึ่งคือพ่อแม่รับไม่ได้ที่ลูกเกิดมาเป็นออทิสติก และมีฐานะยากจนจึงมีความจำเป็นต้องส่งลูกของตัวเองมา
หรืออาจจะไม่มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างเด็กออทิสติกกับเด็กปกติ ที่ในต้องใส่ใจมากกว่าเด็กปกติ และการเรียนรู้ของเด็กออทิสติกส่วนใหญ่มีพัฒนาการค่อนข้างช้าและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งต่างจากเด็กปกติสามารถเรียนรู้และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจนช่วยเหลือตนเองได้ เด็กที่นี่มีหลายประเภท ประเภทหลักๆ ก็คือ ไม่สามารถเดินเองได้น้ำลายไหลตลอดเวลา รวมถึงพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น เป็นต้น ทำให้ผู้ดูแลต้องปรับกิจกรรมให้เข้ากับเด็กประเภทนี้
วิธีแก้ไข มีการฝึกอาชีพที่หลากหลายเหมาะสมกับความสามารถกับความสามารถของแต่ละคน อาชีพที่ฝึกเช่น การทำอิฐปูพื้น ประดิษฐ์ของใช้ของประดับ ทำน้ำยาล้างจาน เพื่อเพิ่มรายได้
ส่วนคนพิการทางด้านร่างกายสามารถประกอบอาชีพได้เหมือนกับคนทั่วไป แต่ต้องได้รับการฝึกฝน สอดคล้องกับความสนใจ ดังนั้นจะเห็นว่าคนพิการสามารถประกอบอาชีพได้ และปัจจุบันสังคมให้การยอมรับคนพิการมากขึ้น ทำให้ผู้พิการได้รับโอกาสและมีส่วนร่วมกับคนมากขึ้น และทางครูบุญชูก็ให้การดูแล เลี้ยงดูเหมือนกับเป็นลูกหลานของตัวเอง พยายามให้เด็กผู้พิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ใช้ชีวิต ได้รับการปฏิบัติเหมือนคนทั่วไป อย่างทางบ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษก็มีการทำกิจกรรมในบ้านพักเ อย่าง การทำบุญ ตักบาตร กรวดน้ำ เคารพธงชาติ สวดมนต์ตอนเช้าหน้าเสาธง และการสวดมนต์ก่อนนอน เพื่อช่วยกลั่นเลาจิตใจ ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจแก่ครูบุญชู พี่เลี้ยง และเด็กผู้พิการ
2.บริการด้านรักษาพยาบาล
3. บริการด้านกายภาพบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพ ใช้กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเพื่อให้ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้
2. กิจกรรมสันทนาการเช่นร้องรำทำเพลง การเต้น ทำให้เด็กผ่อนคลาย และสร้างสมดุลภาพ
3. ทางบ้านบุญชู ได้สร้างหอพระ เพื่อให้เด็กขึ้นไปสวดมนต์ นั่งสมาธิ ซึ่งเป็นการสร้างสมาธิอย่างหนึ่ง
4. การทำงานฝีมือ เพื่อให้เด็กฝึกทำไว้เป็นอาชีพในอนาคตเช่นการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำยาล้างจานเป็นต้น
5. การทำแปลงผัก ที่ได้รับการส่งเสริมจาก บริษัท ยูนิไทย และ บริษัท ซียุอีแยล จำกัด ได้สนับสนุนงบประมาณในการทำแปลงผักออแกนิก
สวัสดิการของผู้พิการ
1. บริการเลี้ยงดู อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า2.บริการด้านรักษาพยาบาล
3. บริการด้านกายภาพบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพ ใช้กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเพื่อให้ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้
กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสังคม
1. การสอนให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ในขั้นพื้นฐาน เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน2. กิจกรรมสันทนาการเช่นร้องรำทำเพลง การเต้น ทำให้เด็กผ่อนคลาย และสร้างสมดุลภาพ
3. ทางบ้านบุญชู ได้สร้างหอพระ เพื่อให้เด็กขึ้นไปสวดมนต์ นั่งสมาธิ ซึ่งเป็นการสร้างสมาธิอย่างหนึ่ง
4. การทำงานฝีมือ เพื่อให้เด็กฝึกทำไว้เป็นอาชีพในอนาคตเช่นการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำยาล้างจานเป็นต้น
5. การทำแปลงผัก ที่ได้รับการส่งเสริมจาก บริษัท ยูนิไทย และ บริษัท ซียุอีแยล จำกัด ได้สนับสนุนงบประมาณในการทำแปลงผักออแกนิก
คำแนะนำในการดูแลผู้พิการ
ก่อนอื่นต้องให้ความรักและความเอาใจใส่กับผู้พิการ เพราะผู้พิการส่วนใหญ่จะเป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากการถูกทอดทิ้ง ทำให้คนพิการจะรู้สึกทอดทิ้งและรู้สึกโดเดี่ยว จึงต้องได้รับการเอาใจใส่มากกว่าเด็กปกติการบำบัดเด็กออทิสติกเป็นการทำค่อนข้างยาก จะต้องมีความเสียสละทั้งกายและใจเนื่องจากเด็กเหล่านี้ไม่สามรถช่วยเหลือตนเองได้ ฉะนั้นจึงต้องมีความอดทนสูงและความพยายามทำให้เด็กยอมรับ รวมถึงให้ความรักความเอาใจใส่ทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวปัญหาและอุปสรรค
ในปัจจุบันค่าใช้จ่ายของบ้านบุญชู เฉลี่ยเดือนละประมาณ 200,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก ในการดำเนินการดูแลผู้พิการก็ไม่มีงบประมาณสนับสนุนจากทางราชการ เนื่องจากไม่ใช่หน่วยงานของรัฐจึงต้องดูแลค่าใช้จ่ายเอง แต่ก็มีรายได้มาจากการรับบริจาคจากทางภาคเอกชนบุคคลทั่วไปวิธีแก้ไข มีการฝึกอาชีพที่หลากหลายเหมาะสมกับความสามารถกับความสามารถของแต่ละคน อาชีพที่ฝึกเช่น การทำอิฐปูพื้น ประดิษฐ์ของใช้ของประดับ ทำน้ำยาล้างจาน เพื่อเพิ่มรายได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น