ประวัติและความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีพระราชทานนามสถานสงเคราะห์แห่งนี้ “สถานสงเคราะห์คนพิการ การุณยเวศม์” มีความหมายว่า “บ้านแห่งความกรุณา” เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2537 ปัจจุบันสังกัด กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ตั้ง 105 หมู่3 ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดชลบุรี
บทบาทหน้าที่
1. ให้บริการเลี้ยงดู ปัจจัยสี่ และสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต
2. ให้บริการด้านสังคมสงเคราะห์ ปรึกษา แก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพโดยส่งเสริมการเล่นกีฬาเพื่อแข่งขัน การออกกำลังกาย จัดทัศนศึกษา นันทนาการ งานประเพณีต่างๆ
3. ให้บริการด้านรักษาพยาบาลตลอด24ชั่วโมง โดยการรักษาเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาลตลอดจนจัดกิจกรรมป้องกันและส่งเสริมสุขอนามัย
4. ให้บริการด้านกายภาพบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพ โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพและกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเพื่อให้ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้
5. ให้บริการอาชีวบำบัด จัดสอนงานฝีมือเพื่อบำบัดและสร้างสมาธิให้คนพิการ เพื่อนำไปสู่การมีอาชีพและรายได้ต่อไป
การใช้ชีวิตและการปรับให้เข้ากับสังคม
กระบวนการดูแลผู้พิการ
การรับคนพิการเข้าอุปการะในสถาบัน
คุณสมบัติผู้รับบริการ
1. เป็นสตรีพิการที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป
2. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
3. ยากจน ไร้ญาติ ขาดผู้อุปการะหรือเป็นผู้มีปัญหากับการอยู่ร่วมกับครอบครัว
เอกสารประกอบการขอรับการสงเคราะห์
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3. สมุดประจำตัวผู้พิการ
4. รูปถ่าย (ถ้ามี)
การสมัครเข้ารับการสงเคราะห์
1. ผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นใบสมัครได้ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
2. ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นใบสมัครได้ที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดที่ตนอาศัยอยู่ หรือติดต่อโดยตรงที่สถานสงเคราะห์การุณยเวศม์ จังหวัดชลบุรี
ทางหน่วยงานสถานสงเคราะห์คนพิการ การุณยเวศม์ จังหวัดชลบุรีได้ให้การดูแลที่ครบถ้วน ทั้งปัจจัย 4 และเน้นการดูแลสุขภาพ พัฒนาการผู้พิการด้วย มีดังนี้
1. การดูแลพึ่งพาอาศัยและบริการเลี้ยงดู โดยมีอาคารเรือนนอนจำนวน จำนวน 10 หลัง แต่ละอาคารมีคนป่วยตั้งแต่ 45-47คน มีพี่เลี้ยงดูแล1คนตลอด 2 4 ชั่วโมง รวมถึงการมีพี่เลี้ยงแต่ละตึกมาช่วยอาบน้ำ แต่งตัวให้ผู้พิการที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
2. ด้านการเลี้ยงดูจัดอาหารามหลังโภชนาการครบ 3 มื้อ และมีอาหารเสริมพิเศษสำหรับผู้มีปัญหาทางสุขภาพ ในเวลารับประทานอาหารผู้พิการที่เดินหรือมีรถเข็น พอช่วยเหลือตนเองได้ก็จะเดินไปที่โรงอาหารเอง แต่สำหรับผู้พิการที่ต้องนอนติดเตียง ไม่สามารถลุกไปที่โรงอาหารเองได้ ประมาณ 300 คน ก็จะมีพี่เลี้ยงนำอาหารไปป้อนบนตึกอาคารและอาจจะเป็นผู้พิการที่พอจะช่วยเหลือตนเองได้บ้างก็จะช่วยป้อนอาหารให้แก่ผู้พิการด้วยกันเองได้
3. การดูแลด้านพยาบาล มีพยาบาลวิชาชีพ 2 คน ให้ดูแลรักษาเบื้องต้น และถ้ามีกรณีฉุกเฉิน เช่นผู้พิการทะเลอะวิวาทกัน หัวแตก ก็มีรถพร้อมส่งต่อให้โรงพยาบาล 24 ชั่วโมง นอกจากนี้มีการประสานหน่วยงานภายนอกทำการตรวจรักษาเฉพาะโรค เพิ่มพูนทักษะเจ้าหน้าที่ พี่เลี้ยงในการดูแลด้านสุขภาพ สำหรับคนพิการ
4. สำหรับผู้พิการทางร่างกายก็มีเจ้าหน้าที่ช่วยงานกายภาพบำบัด มีนักกายภาพบำบัด 3 คน ประเมินและวางแผนฟื้นฟูสุขภาพ คนพิการเพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆที่มีปัญหาสามารถกลับมาใช้งานได้ดีขึ้น
5. การดูแลเกี่ยวกับงานด้านสังคมสงเคราะห์ มีนักสังคมสงเคราะห์และพัฒนาสังคม จำนวน 3 คน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้รับให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ตลอดจนติดต่อประสานงานกับครอบครัวคนพิการ
6. บริการด้านกระตุ้นพัฒนาการจัดให้การกระตุ้นพัฒนาการ ดังนี้
1. พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว
2. พัฒนาทักษะการช่วยเหลือตัวเอง
3. พัฒนาทักษะด้านภาษาและการรับรู้
4. พัฒนาทักษะการปรับตัวต่อสังคม
5. พัฒนาทักษะการทำงานและใช้เครื่องงานบ้าน
6. การพัฒนาทักษะการจัดเตรียมดูและและรักษาความรักษา
7. กิจกรรมดนตรีบำบัด
สวัสดิการที่ผู้พิการได้รับ
1. บริการเลี้ยงดูด้านปัจจัย 4 และสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต2. บริการด้านสังคมสงเคราะห์ มีนักสังคมสงเคราะห์และพัฒนาสังคมให้คำปรึกษา แก้ไขเฉพาะราย
3. บริการด้านการรักษาพยาบาล
4. บริการด้านกายภาพบำบัด และสงเคราะห์กายอุปกรณ์
5. บริการด้านอาชีวบำบัด
6. บริการด้านกิจกรรมนันทนาการและการกระตุ้นพัมนาการ
7. บริการด้านกิจกรรมทางศาสนา
สวัสดิการที่ต้องการช่วยเหลือจากรัฐบาล
1. ต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม เพราะในแต่ละตึกอาคารมีจำนวนผู้พิการจำนวนมากต้องนอนเบียดกันและยังต้องแบ่งผู้พิการมานอนที่พื้นอีกด้วย2. ต้องการพี่เลี้ยงดูแลให้มีจำนวนมากกว่านี้ให้เพียงพอกับจำนวนผู้พิการ เพราะดูแลไม่ทั่วถึง ผู้พิการทางสติปัญญาบางครั้งก็ต้องถูกผูกผ้าไว้กับต้นเสาเพราะบางครั้งพี่เลี้ยงก็ไม่ได้ดูตลอดเวลา กลัวผู้พิการจะเกิดอุบัติเหตุ
3. การออกไปฝึกอาชีพ การทำงานในข้างนอก เพราะทางหน่วยงานมีความยากลำบากมาก ทางหน่วยงานเคยส่งไป 400 คน สามารถทำงานต่อไปได้จริงแค่ 4 คน คิดเป็น 1% ซึ่งน้อยมากๆ เนื่องจากผู้พิการมีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะทางร่างกาย การปรับตัวการใช้ชีวิตในสังคม เช่นไปเจอแล้วไปเฝ้าผู้ชาย เพราะผู้พิการที่อยู่ที่นี่เป็นผู้หญิงหมดบางคนก็ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ การเรียกร้องความสนใจ เช่น ผู้พิการที่มีอาการทางจิตก็ควรได้รับการดูแลที่เป็นพิเศษ และผู้พิการที่ปกติดี แต่ไม่มีเลขบัตรประชาชน บัตรคนพิการก็ไม่สามารถไปทำงานได้ตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการที่กำหนดไว้ เพราะมีผู้พิการบางรายที่ไม่รู้ที่มาที่ไป ถูกตำรวจส่งตัวมา เป็นใบ้ไม่สามารถสื่อสารได้ ไม่รู้ประวัติ
4. ต้องการให้ทางรัฐบาลหรือเอกชน ให้การช่วยเหลือในการดูแลหาวิธีการฟื้นฟูผู้พิการตั้งแต่ตอนแรกๆ เช่น การฟื้นฟูคนพิการทางสติปัญญาของต่างประเทศ ก็ให้ไปฝึกกล้ามเนื้อแขน นิ้วมือจากการนวดแป้งในโรงงานขนมปัง เป็นต้น
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj_HsGv01G868F2_DVLz9dxGf9927GHwxpVyoUMVtzCL6eftMbgq87L_pIvS3mOzzClOX4hFBWWJdX9pC96gPCLF93vhMsK72iC9hBxh2dbMfPn3He6eQtU1nwyAZfMKjKxUy3REALb_eOb/s320/11749361_895561600523520_1020050921_n.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiu3p_U6Rh1s6907r6L6TIS56LaH_9UOLRr8sL1wDPFA9NXtvscsBu3qIhVaaav4mixPRuxmpVb8L2J1yDXhsTnkOY2V_tN2ZAGZYbTiYs8zGxPf4eRBqX39GUy3Cd1T8WxMsxcmkuuIwy6/s320/11759420_895565487189798_1099858016_n.jpg)
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวให้เข้าสังคม
1. ในวันกิจกรรมทางพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา ก็จะพาผู้พิการไปเวียนเทียน ฟังเทศน์ฟังธรรม2. กิจกรรมการแข่งกีฬาของเทศบาล ทางหน่วยงานก็จะส่งผู้พิการที่เป็นนักกีฬาไปแข่งด้วย
3. จัดพาไปทัศนศึกษา จะเป็นในสถานที่ไม่ไกลมาก เช่น art in paradise ที่พัทยา
4. การพาผู้พิการไปเยี่ยมญาติ แต่ผู้พิการส่วนใหญ่จะไม่มีญาติ ถูกทอดทิ้งมา ถูกทำร้ายจึงมีโอกาสน้อยมากที่จะกลับสู่ครอบครัว ทางหน่วยงานจึงเน้นการฟื้นฟูจากภายในมากกว่า
การฝึกอาชีพ
1. ผู้พิการทางสติปัญญาทางสติปัญญา ก็จะฉีกกระดาษ แปะกระดาษไว้ทำเปเปอร์มาเซ่2. ผู้พิการที่สมองเป็นปกติ ก็จะถักเสื้อจากไหมพรม ผ้าพัดคอ ทำพวงกุญแจจากลูกปัด และทำดอกไม้ประดิษฐ์
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEimBcPm5a3y4YIxDBPzc43DH-4v4FlGEjU1dmyt77lVLawm15q4bPPaLn6XtaUpP_IUJBrboQW6Ba-5uythKCXSupvBSxWrgrqiiTwjk9BFv_STaglk9tywuWYd4xzKf68h_hKvUyz4jDz9/s320/11737028_849836788398620_2038692438_n.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjGHlcCTbIn2bGHfmB2EzyxqYLhmWVoo2q4O2Z5nLhLfeMwE-4tKrzDsFhho9A7Bg9FiiKzOAzOT88L7h0udH2SpE3PAywBttuT1BpeUt9ghet1D9ekO64W3crkag9SaN0FDeoJ-ZXasy6m/s320/11748653_849836571731975_1588834169_n.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjJ-LOJ7tUbLE5RtWOvGVb687BWBcOYEIgbAHcbxv8iuB1JppAcblXwTpqOTZg2u7fGEZYOuLf97BfqE1tEMmuIR9CqK6hYOgOq00FKVOcyZ01I3yj3ZBqCQAZ69z8lk3aXlCVzOHnp13qn/s320/11758929_893809484032065_1683123479_n.jpg)
ปัญหาและอุปสรรคของหน่วยงาน
1. สาเหตุความพิการ เนื่องจากมีคนพิการที่มีสภาพความพิการแต่กำเนิด คิดเป็นร้อยละ 55.51 และสาเหตุความพิการเนื่องจากสภาวะการเจ็บป่วย คิดเป็นร้อยละ 33.01 ทำให้การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการไม่สามารถพัฒนาตามการจัดทำแผนฟื้นฟูสมรรถภาพรายบุคคล (IRP)ได้2. ช่วงวัยผู้สูงอายุ เนื่องจากสถานสงเคราะห์ รับคนพิการที่มีอายุค่อนข้างมากและมีปัญหาเรื่องโรคแทรกซ้อน ทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่สามารถพัฒนาตามแผน IRP ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น