โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี





ประวัติและความเป็นมา

          โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรี สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มดำเนินการก่อสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2551 ในที่ราชพัสดุ ที่ตำบลอ่างศิลาอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ทั้งหมดจำนวน 20 ไร่ เป็นสนามฟุตบอล 9 ไร่ ที่เหลือ 11 ไร่ ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม สังกัดกองการมัธยมศึกษา ส่วนที่เหลือเป็นที่ตั้งของโรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี ทั้ง 2 โรงเรียนนี้ต่างก็เป็นโรงเรียนสร้างใหม่ด้วยกัน และยังไม่ได้แบ่งอาณาเขตเป็นสัดส่วนแน่นอน โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรีได้ก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณเป็นอาคารเรียนชั้นเดียวขนาด 6 ห้องเรียน มีโรงอาหาร 1 หลังห้องส้วม 2 หลัง ต่อมา กองการศึกษาพิเศษได้พิจารณาเห็นว่า การที่โรงเรียนใหม่ทั้งสองนี้ได้ก่อตั้งขึ้นในเนื้อที่เพียง 11 ไร่ ต่อไปในอนาคตต้องมีปัญหาต่างๆ เพราะอาคารเรียนและอาคารประกอบการต่างๆ สร้างในพื้นที่จำกัดไม่เหมาะแก่การพัฒนาโรงเรียน และการเติบโตของโรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ นาย กฤษณ์ รัมยาภิวัฒน์กุล ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนได้เสนอกกรมสามัญศึกษา ขอให้ย้ายโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรีไปสร้างในสถานที่แห่งใหม่ กรมสามัญก็เห็นชอบด้วยเหตุผลและความจำเป็นในอนาคต จึงอนุมัติให้โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรีย้ายจากตำบลอ่างศิลา มาอยู่ที่ เลขที่ 260 ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ในเนื้อที่ 8 ไร่ เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 และโรงเรียนได้รับบริจาคที่ดินเพิ่มอีก 100 ตารางวา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 รวมเป็นเนื้อที่ของสถานการศึกษา 800 ไร่ 100 ตารางวา

ปัจจุบัน สถานที่ตั้งของสถานศึกษา อยู่เลขที่ 90 ถนนบางแสนล่าง ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20130 และมีผู้อำนวยการ ชื่อนางสาว วัลภา ประสานศิลป์ และรองผู้อำนวยการคนที่ 1 ชื่อ นางสาว พัชริดา เสมอวงศ์ รองผู้อำนวยการคนที่ 2 ชื่อ นางพิมพ์ภักดิ์ ปล้องอุดม รองผู้อำนวยการคนที่ 3 ชื่อ นาง อังคณา พลังกูร และรองผู้อำนวยการคนที่ 4 ชื่อนายสุมิน กาฬภักดี




บทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์

สถานศึกษาดีเด่นมุ่งเน้นคุณภาพ สัมพันธ์ชุมชนฝึกฝนอาชีพ เสริมสร้างศักยภาพคนพิการชำนาญการฝึกพูด ควบคู่ภาษาอังกฤษส่งเสริมสื่อเทคโนโลยี กีฬาศิลปะและสุขภาพ

พันธกิจ

1. จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ให้สวยงามเป็นระเบียบและสะอาด

2. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และระเบียบวินัย

3. ประสานชุมชนร่วมมือระดมทรัพยากร

4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนมีทักษะ พื้นฐานในการประกอบอาชีพ

5. พัฒนาคุณภาพการศึกษา

6. ส่งเสริมความเป็นเลิศทางการฝึกพูดคู่ภาษามือ

7. สนับสนุนการใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

8. ส่งเสริมความก้าวหน้าของครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพ

9. พัฒนาทักษะการกีฬา


การใช้ชีวิตและการปรับตัวให้เข้ากับสังคมของผู้พิการ
กระบวนการการดูแลผู้พิการ

     ผู้พิการที่โรงเรียนโสตศึกษา จะสามารถแบ่งกลุ่มได้ง่ายๆ เป็นกลุ่มเด็กและเด็กโต โดยมีรายละเอียด ดังนี้

เด็กเล็ก คือผู้พิการที่อยู่ในระดับชั้นตั้งแต่ อนุบาล1- ป.2 โดยเด็กเล็กที่พิการแต่กำเนิดก่อนเข้าเรียนจะยังสามารถสื่อสารได้แค่ภาษาธรรมชาติตามสัญชาติของเด็ก และสำหรับบางครอบครัวที่พ่อแม่ให้ความใส่ใจแก่ลูกมากๆ เด็กก็จะสามารถเรียนรู้การอ่านปากได้ก่อนเลยและความเอาใจใส่ของครอบครัวเป็นส่วนสำคัญ ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กพิการ แต่สำหรับเด็กพิการที่ครอบครัวไม่มีเวลาปล่อยปละละเลย ไม่มีเวลาให้ เมื่อเข้ามาในโรงเรียนก็จะต้องเรียนรู้ใหม่หมดทุกอย่างเลย จะร้องไห้ ไม่เข้าใจ และวิ่งเล่นอย่างเดียว แต่ทางโรงเรียนจะมีพี่เลี้ยงเด็กเล็กที่เป็นผู้พิการที่โตแล้วมาช่วยกันดูแล ก็จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนในการปรับตัวเข้ากับชีวิตประจำวันในโรงเรียน

เด็กโต คือ ผู้พิการที่อยู่ในระดับชั้นตั้งแต่ ป.3- ป.6 จะมีการเรียนการสอนวิชาต่างๆเหมือนกับโรงเรียนคนปกติทั่วไป แต่จะสอนการใช้ภาษามือ ในส่วนการเลื่อนลำดับชั้นก็จะตามอายุปกติ แต่ถ้ามีผู้พิการบางคนที่สามารถเรียนรู้ได้เร็ว มีพื้นฐานการเรียนมาบางจากครอบครัว ก็จะได้เลื่อนชั้นได้เร็วขึ้น อย่าง มีผู้พิการบางคนเรียน ป. 2 แค่2 เดือน หรือครึ่งเทอมก็เลื่อนชั้นไป ป.3 ได้ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก หรือมีบางกรณีที่ผู้ปกครองพาผู้พิการมาเข้าเรียนช้า อย่างพามาตอนที่อายุ 16 ปีแล้วก็จะต้องไปเรียนกับเด็ก ป. 1ก่อนให้ใช้ภาษามือได้บางก็จะส่งไปเรียนกับเด็กโตตามอายุ



สวัสดิการดูแลผู้พิการ

ทางรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนสวัสดิการ ให้ค่าใช้จ่ายต่างๆและให้ทุนการศึกษาแก่เด็กผู้พิการ ดังนี้

1. บริการเลี้ยงดู อาหารทั้ง3 มื้อ ที่พักอาศัย

2. บริการด้านการรักษาพยาบาล พร้อมมีรถไปส่งโรงพยาบาลตลอด24 ชั่วโมง ถ้าเกิด อุบัติเหตุ เหตุฉุกเฉิน

3. ค่าเทอม หนังสือเรียน อุปกรณืการเรียน ชุดนักเรียน

4. พาไปทัศนศึกษา

5. ผู้พิการที่ยากจนจะได้รับทุนการศึกษาจากเงินบริจาค เป็นค่าขนมวันละ 20 บาท

กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและปรับตัวให้เข้ากับสังคม

1. ทางโรงเรียนจะมีโครงการฝึกอาชีพแก่ผู้พิการ ในวิชาแนะแนว สำหรับเด็กเล็กก็จะสอนการทำอาหารอย่างง่ายๆ อย่างการทอดไข่เจียว ทำไข่ตุ๋น เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง และสำหรับเด็กโตจะสอนการทำอาชีพ อย่างการทำเบเกอรี่, สอนตัดผม, เสริมสวย เพื่ออาจจะเป็นอาชีพสร้างรายได้เมื่อเรียนจบไปแล้ว

คำแนะนำในการดูแลผู้พิการ

ครอบครัวของเด็กผู้พิการควรจะให้ความรัก ความอบอุ่นและใส่ใจถึงการดูแล พูดคุย แสดงความรัก ก็จะช่วยให้เด็กผู้พิการ สามารถอ่านปากคนทั่วไปได้ ถึงแม้จะไม่ได้ยินเสียงหรือพูดไม่ได้ก็ตาม ก็จะเรียนรู้หนังสือได้เร็ว พัฒนาการดีกว่าเด็กที่ครอบครัวไม่ได้ให้การดูแล นอกจากนี้มีการสอนวิธีดูแล รับผิดชอบตัวเองตั้งแต่ยังเด็กผู้พิการให้เกิดการเรียนรู้ ในการดูแลตัวอง การใช้ชีวิตประจำวันเหมือนอย่างเด็กปกติ อย่างเช่นการหยิบช้อน การใส่เสื้อผ้า ล้างจาน เป็นต้น เพราะว่ามีบางครอบครัวที่ไม่ได้ใส่ใจเด็กผู้พิการ ปล่อยให้แต่นั่งเล่นเฉยๆ หรือคอยทำทุกๆอย่างให้ ป้อนข้าวให้ เด็กจะไม่เกิดการเรียนรู้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และถ้าส่งให้มาอยู่ที่โรงเรียนคนพิการ ทางโรงเรียนก็ต้องใช้เวลาอย่างมากมาสอน

ปัญหาและอุปสรรค

1. เด็กพิการที่ยังเล็กอยู่มักจะทำของใช้ส่วนตัวหาย อย่างช้อน, เสื้อผ้า, กางเกงใน, ถุงเท้า แล้วจะแย่งของกับเพื่อน ทะเลาะกัน

วิธีแก้ไข ต้องปักชื่อเอาไว้ มีล็อคเกอร์ของตัวเองและจะมีพี่เลี้ยงคอยดูแลเด็กเล็กอีกที

2. ข้อจำกัดในการเรียนของผู้พิการทางการได้ยินและการสื่อสาร อย่างในวิชาภาษาไทย ก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะผู้พิการจะเข้าใจ

วิธีแก้ไข อาจารย์ผู้สอนก็ต้องมีความอดทน เข้าใจถึงข้อจำกัดทางร่างกายของผู้พิการด้วย โดยต้องสอนซ้ำๆ

3. การชู้สาวในโรงเรียน

วิธีแก้ไข ต้องแยกหอนอนชาย-หญิงอย่างชัดเจน มีอาจารย์เฝ้าประจำหอนอน

4. ผู้พิการหนีออกไปเที่ยวในเวลากลางคืน เช่นไปเล่นเกม, ไปหาแฟน

วิธีแก้ไข ต้องมีอาจารย์คอยตรวจตรา มียามเฝ้าไม่ให้เด็กหนีออกไป

5. การสูบบุหรี่, เสพยาเสพติด

วิธีแก้ไข อาจารย์จะต้องตรวจตราและเฝ้าดูพฤติกรรมของผู้พิการ






















1 ความคิดเห็น:

  1. เสียค่าเทอม เท่าไหร่ครับ อยากทราบครับ ลูกชายผม 6 ขวบ 4 เดือน แล้วเริ่มรับสมัครเมื่อไหร่ครับ

    ตอบลบ