วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การจัดการความรู้ในประเด็นการใช้ชีวิตและการปรับตัวให้เข้ากับสังคมของผู้พิการ

     
           บทความนี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอนวิชา การจัดการความรู้ (262221) ซึ่งจัดทำขึ้นโดยนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาการจัดการบริการสังคม ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นบทความให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตและการปรับตัวให้เข้ากับสังคมของผู้พิการ ที่ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้และเพื่อให้มีความเข้าใจในการใช้ชีวิตประจำวัน การปรับตัวให้เข้ากับสังคมของผู้พิการ โดยได้ทำการสรุปความรู้ที่ได้รับของแต่ละหน่วยงานได้ดังต่อไปนี้

ประเด็น

 เรียนรู้การใช้ชีวิตและการปรับตัวให้เข้ากับสังคมของผู้พิการ

เป้าหมาย

นำความรู้และความเข้าใจในการใช้ชีวิตประจำวัน และการปรับตัวให้เข้ากับสังคมของผู้พิการมาเผยแพร่ให้ความรู้แก่เพื่อนนิสิตสาขาการจัดการบริการสังคม จะได้มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาอุปสรรคในกรใช้ชีวิตของผู้พิการไว้สำหรับการลงพื้นที่และการทำงานด้านการจัดสวัสดิการและบริการสังคมแก่ผู้พิการในอนาคต

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเรียนรู้และมีความเข้าใจในการใช้ชีวิตประจำวัน การปรับตัวให้เข้ากับสังคมของผู้พิการเพื่อนำเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่นิสิตสาขาการจัดการบริการสังคมได้
2. เพื่อศึกษาวิธี กระบวนการและข้อแนะนำการดูแลผู้พิการจากเจ้าหน้าที่ นักสังคมสงเคราะห์ของหน่วยงาน
3. เพื่อส่งเสริมทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีในการทำงานด้านสวัสดิการและบริการ

ผู้ที่ให้ข้อมูล

1. เจ้าหน้าที่ดูแลผู้พิการ
2. พยาบาล
3. นักกายภาพบำบัด
4. อาจารย์ที่ดูแลนักเรียนผู้พิการ
 5. ผู้พิการ


ประเด็นคำถาม

1. การใช้ชีวิตประจำวันและการปรับตัวเข้ากับสังคมของผู้พิการ
2. กระบวนการทำงานขององค์กรหรือหน่วยงาน
3. วิธีการดูแลและเลี้ยงดูผู้พิการ
4. สวัสดิการที่ผู้พิการได้รับจากรัฐบาล
5. กิจกรรมและวิธีการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการดำเนินชีวิตของผู้พิการ


 รูปแบบการเก็บข้อมูล

1. Socialization
- การสนทนา
- การสังเกตการณ์


หน่วยงานที่ศึกษา

1. โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดชลบุรี
2. สถานสงเคราะห์คนพิการการุณยเวศม์ บางละมุง จังหวัดชลบุรี
3. บ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษ boonchoo home จังหวัดชลบุรี








1 ความคิดเห็น: